สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์

     พระราชลัญจกรประจำพระองค์ หมายถึง พระตราที่ใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน

     พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นรูปพระที่นั่งอิฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักร มีรัศมีเปล่งออกโดยรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอิฐทิศ แปลความหมายว่าทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน (โดยที่วันพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอิฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปดนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะทรงรับจากราชบัณฑิตดังในรัชกาลก่อน)


img



สีน้ำเงิน สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม "มหาวิทยาลัยราชภัฏ"
สีเขียว แหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 38 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง ความเจริญร่งเรืองทางภูมิปัญญา
สีส้ม ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 38 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สีขาว ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย

พระพุทธศรีทวารวดีสิริราชภัฏ จัดสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2545 โดยต้นแบบของพระพุทธศรีทวารวดีสิริราชภัฎ มาจากพระพุทธศิลาขาว (ในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร) พระพุทธรูปศิลาขาว เป็น พระพุทธเก่าแก่สร้างในสมัยทวารวดีมีอายุประมาณ 1,500 ปี เป็นปางปฐมเทศนา แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อประทานพร” มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาอย่างยิ่งของชาวบ้าน ขุดพบที่วัดทุ่งพระเมรุ (วัดร้าง) สวนนันทอุทยาน ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ มาประดิษฐานไว้เมื่อปีพุทธศักราช 2404 และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (สถาบันราชภัฏนครปฐมในขณะนั้น) ได้สร้างพระพุทธรูปจำลองพระพุทธรูปศิลาขาว มาประดิษฐาน ณ บริเวณประตูทางเข้า ด้านซ้ายของมหาวิทยาลัยฯ โดยใช้ชื่อว่า “พระพุทธศรีทวารวดีสิริราชภัฏ”

img

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย


img

ดอกเฟื่องฟ้า(Bougainvillea)
     เฟื่องฟ้า ถูกกำหนดเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยในสมัยของท่าน อาจารย์พเยาว์ ศรีหงส์ โดยท่านเห็นว่าเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดี ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง สามารถรับแสงแดดได้ตลอดวัน แต่ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้สีของใบไม่เข้ม ออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิปานกลาง หรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้นต้องการน้ำปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก และเฟื่องฟ้าได้รับสมญาว่า “ราชินีแห่งไม้ประดับ” เนื่องจากบ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพ ประดับสวน อาคาร
     เฟื่องฟ้า มีชื่อสามัญว่า Bougainvillea, Paper Flower และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bougainvillea Hyhrida ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ Peper Flower, Kertas, ตรุษจีน อยู่ในตระกูล Nyctaginaceae ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิล โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราวปี คศ. 1766 - 1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเซีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พศ.2423 ใน สมัยรัชการที่ 5

สีประจำมหาวิทยาลัย

img

สีชมพู

img

สีแดง