ประวัติมหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2479
เริ่มตั้งเป็น  “โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม”   โดยใช้ตึกหอทะเบียนมณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งอยู่  ณ   เลขที่  86  ถนนเทศา   ตำบลพระปฐมเจดีย์   อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  รับเฉพาะนักเรียนหญิง  เปิดสอนชั้นฝึกหัดครูประชาบาล

พ.ศ. 2503
เปิดรับนักเรียนฝึกหัดครูชาย  โดยให้เรียนร่วมกับนักเรียนฝึกหัดครูหญิง เริ่มเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)  เริ่มงานโครงการฝึกครูชนบท

พ.ศ. 2511
เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม

พ.ศ. 2512
ย้ายสถานที่จากเลขที่ 86 ถนนเทศา ไปอยู่เลขที่ 85 ถนนมาลัยแมน (ตรงข้ามวัดใหม่ปิ่นเกลียว) เปิดรับนักเรียนครู ตามโครงการผลิตครูประโยคครูปฐม (ป.ป.)

พ.ศ. 2513
เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม เป็นวิทยาลัยครูนครปฐม เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2513 และเปิดสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง)

พ.ศ. 2518
เริ่มดำเนินการและบริหารตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ทำให้วิทยาลัยครูเปลี่ยนแปลงทั้งทางบทบาท และโครงสร้างเข้าไปสู่ ความเป็นอุดมศึกษามากขึ้น ดังเช่น ที่ระบุไว้ในมาตรา 5 คือ “ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันค้นคว้า และวิจัย ผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ส่งเสริม วิทยฐานะของครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน” วิทยาลัยครูนครปฐมซึ่ง ได้รับฐานะให้เป็นวิทยาลัยครูได้เพียง 5 ปี ก็ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างและขยายบทบาทออกไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่พระราชบัญญัติ ประกาศใช้

พ.ศ. 2521
เปิดสอนระดับปริญญาตรี (ค.บ.) หลักสูตร 2 ปี เปิดโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) รุ่นที่ 1 เมื่อภาคเรียนที่ 2

พ.ศ. 2523
เริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

พ.ศ. 2527
ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบางมาตราให้วิทยาลัยครูมีความสมบูรณ์ และปฏิบัติภารกิจสนองความต้องการของสังคมให้กว้างขวางขึ้น สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ลักษณะหนึ่งในมาตรา 5 คือ ให้วิทยาลัยครูจัดการศึกษาในสาขาวิชาการต่าง ๆ นอกเหนือจากการผลิตครูได้ด้วย

พ.ศ. 2528
วิทยาลัยครูนครปฐมได้เปิดสอนระดับอนุปริญญาสายวิชาการอื่น (อ.วท. และ อ.ศศ.) เป็นปีแรก มี 5 สาขาวิชาเอก แยกเป็นสายศิลปศาสตร์ 2 สาขา วิชาเอก วารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์ และการออกแบบ และสายวิทยาศาสตร์ 3 สาขาวิชาเอก คือ การอาหาร พืชศาสตร์ และอิเล็กทรอนิกส์

พ.ศ. 2529
รับนักศึกษาสาขาวิชาการอื่นเพิ่มขึ้น และเปิดถึงระดับปริญญาตรีเป็นปีแรกและเปิดโครงการการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ระดับปริญญาตรี และอนุปริญญาเป็นปีแรก เปิดดำเนินการโรงเรียนสาธิตโดยรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน ในแผนการเรียนอังกฤษ – คณิตศาสตร์ โดยใช้อาคารนอน ดี. 3 ดัดแปลงเป็นอาคารเรียน ในขณะเดียวกัน ได้ดำเนินงานควบคู่ไปกับโรงเรียนสาธิตอนุบาล ซึ่งเปิดสอนมาตั้งแต่ปี 2522 โดยใช้อาคารเรียนชั่วคราว มีตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก อนุบาล 1 อนุบาล 2

พ.ศ. 2535
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535

พ.ศ. 2538
ประกาศใช้ พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538

พ.ศ. 2540
เปิดโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.) และเปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต)

พ.ศ. 2541
เปิดศูนย์ให้การศึกษา ณ สถาบันอินเตอร์เทค อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เปิดรับนักศึกษาปริญญาโทสาขาบริหารการศึกษา

พ.ศ. 2542
เปิดศูนย์ให้การศึกษา ณ โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดรับนักศึกษา ปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และสาขาไทยคดีศึกษา เริ่มเปิดรับนักศึกษาศูนย์จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับครูประจำการ (ศอ.คป.)

พ.ศ. 2543
เริ่มเปิดรับนักศึกษาศูนย์จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับผู้นำชุมชน (ศอช.)  

พ.ศ. 2546
เปิดโครงการสมทบร่วมกับวิทยาลัยศึกษาสมุทรสาคร  เปิดหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) เป็นปีแรก

พ.ศ. 2547
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยใน พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2547 พิมพ์ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป

พ.ศ.2548
ดำเนินการปรับปรุงและสร้างหลักสูตรสำหรับเปิดสอนในปีการศึกษา 2549 พร้อมทั้งปรับปรุงโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานชอง สกอ.

พ.ศ.2549
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 6 สาขาวิชา  ได้แก่  สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) (วิศวกรรมโทรคมนาคม) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ค.บ.)    สาขาวิชาพลศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ (ค.บ.) สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (ศศ.บ.) สาขาวิชาศิลปกรรม (ดิจิตอลอาร์ท) สาขาวิชาภาษาจีน  และระดับปริญญาโท สาขาวิชา  Executive MBA

พ.ศ.2550
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาในระดับปริญญาตรี 4 สาขา คือ สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (ศศ.บ)  สาขาวิชาสหกิจวิทยาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (ศศ.บ.) สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น (ศศ.บ.)  และสาขาวิชานิติศาสตร์ (น.บ.) และสาขาวิชาระดับปริญญาโท 3 สาขา คือ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ศศ.ม.)  สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (วท.ม.)  และ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา (วท.ม.)

พ.ศ.2551
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช (วท.บ.) สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม (วท.บ.)   สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (วศ.บ.)   สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (วศ.บ.) สาขาวิชาระบบเกษตรยั่งยืน (วท.ม.)  และสาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา (ระดับปริญญาเอก)

พ.ศ.2552
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม  7  สาขาวิชา  ได้แก่  สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม  (วท.บ.)  สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  (วท.บ.) สาขาวิชาพัฒนาซอฟต์แวร์  (วท.บ.)  สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ  (วศ.บ.)  สาขาการจัดการโลจิสติกส์  (บธ.บ.)  สาขาการธุรกิจระหว่างประเทศ  (บธ.บ.)  สาขาวิชาพยาบาล  (พย.บ.)

พ.ศ.2553
ปรับปรุงหลักสูตร  1  สาขาวิชา  ได้แก่  สาขาวิชาพยาบาล (พย.บ.)  

พ.ศ.2554
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม  3  สาขาวิชา  ได้แก่  สาขาวิชาประถมศึกษา  5  ปี  (ค.บ.)    สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้  (ค.ม.)  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  (รป.ม.)
ปรับปรุงหลักสูตร  3  สาขาวิชา  ได้แก่  สาขาวิชาพลศึกษา  5  ปี  (ค.บ.)  สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  (วท.บ.)  สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์  (วท.บ.)   

พ.ศ.2555
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม  3  สาขาวิชา  ได้แก่  สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 4 ปี (ศป.บ.)  สาขาวิชาออกแบบดิจิทัลอาร์ต  4 ปี (ศป.บ.)  สาขาวิชานิเทศศาสตร์  4  ปี  (นศ.บ.)

พ.ศ.2556
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม  4  สาขาวิชา  ได้แก่  สาขาวิชาฟิสิกส์ (วท.ม.)  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ศศ.ม.)  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.ม.)  สาขาวิชาฟิสิกส์ (ปร.ด.)

พ.ศ.2557
ปรับปรุงหลักสูตรใหม่  1  สาขาวิชา  ได้แก่  สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ (ค.บ.)

พ.ศ.2558
เปิดสอนหลักสูตรใหม่  6  สาขาวิชา ได้แก่  สาขาวิชาฟิสิกส์ (ค.บ.)  สาขาวิชาเคมี (ค.บ.)  สาขาวิชาชีววิทยา  (ค.บ.)  สาขาวิชาภาษาจีน  (ค.บ.)  สาขาวิชาศิลปศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาธุรกิจศึกษา (ค.บ.)
ปรับปรุงหลักสูตร 4 สาขาวิชา ได้แก่  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (วท.บ)  สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (วท.บ.)  สาขาวิชาจุลชีววิทยา  (วท.บ.)  สาขาวิชาเคมี (วท.บ.)

พ.ศ.2559
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 3 สาขาวิชา สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (วท.บ.)
ปรับปรุงหลักสูตร 26 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (ค.บ.) สาขาวิชาพลศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาการประถมศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาดนตรีศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.) สาขาวิชาสังคมศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์ (น.บ.) สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (บธ.บ.) สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร (บธ.บ.) สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (บธ.บ.) สาขาวิชาการตลาด (บธ.บ.) สาขาวิชาการบัญชี (บช.บ) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (พย.บ.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (รป.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (วท.บ.) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม (วท.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (วศ.บ.) สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ (ศศ.บ.) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ศศ.บ.) สาขาวิชาการจัดการอาหาร (ศศ.บ.) สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (บธ.ม.)

พ.ศ.2560
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม (วท.บ.) คอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.)
ปรับปรุงหลักสูตร 18 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (ค.บ.) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (นศ.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (บธ.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตพืช (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.บ.) สาขาวิชาออกแบบดิจิทัลอาร์ต (ศป.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ (ศศ.บ.) สาขาวิชาการบริการธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ศศ.บ.) สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน (ศศ.บ.) สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (ค.ม.) สาขาวิชาฟิสิกส์ (วท.ม.) สาขาวิชาฟิสิกส์ (ปร.ด.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปร.ด.)

พ.ศ.2561
ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (วศ.บ.) สาขาวิชาวิชาชีพครู (ประกาศนียบัตรบัณฑิต)

พ.ศ.2562
ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 17 สาขาวิชา จากระยะเวลา 5 ปี เป็น 4 ปี ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย (ค.บ.) สาขาวิชาการประถมศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาพลศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาสังคมศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาดนตรีศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.) สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) สาขาวิชาภาษาจีน (ค.บ.) สาขาวิชาศิลปศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ค.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (ค.บ.) สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.) สาขาวิชาฟิสิกส์ (ค.บ.) สาขาวิชาเคมี (ค.บ.) สาขาวิชาชีววิทยา (ค.บ.) สาขาวิชา อุตสาหกรรมศิลป์ (ค.บ.) และสาขาวิชาธุรกิจศึกษา (ค.บ.)

พ.ศ.2563
ปรับปรุงหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และปรับปรุงหลักสูตรสาขานิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง (ศป.บ.) และ สาขาวิชาการจัดการบริการการท่องเที่ยวและสุขภาพนานาชาติ (ศศ.บ.)
เปิดสอนหลักสูตรใหม่ เพิ่มเติม 2 สาขาวิชาระดับปริญญาตรีได้แก่ สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง (ศป.บ.) และสาขาวิชาการจัดการบริการการท่องเที่ยวและสุขภาพนานาชาติ (ศศ.บ.) ปรับปรุงหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และปรับปรุงหลักสูตรสาขานิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)

พ.ศ.2564
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 1 สาขาวิชาระดับปริญญาตรี คือ นวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ (วท.บ.) ปรับปรุงหลักสูตร 3 สาขาวิชาระดับปริญญาตรี ได้แก่ เคมีเวชสําอาง (วท.บ.) การเงินและการลงทุน (บธ.บ.) และเทคโนโลยีการอาหารและนวัตกรรม (วท.บ.)

พ.ศ.2565
เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 1 สาขาวิชาระดับปริญญาโท คือ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ (วศ.ม.) และสาขาวิชาระดับปริญญาเอก 1 สาขา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ (วศ.ด.) ปรับปรุงหลักสูตร 5 สาขาวิชาระดับปริญญาตรี ได้แก่ สาขาวิชานวัตกรรมการควบคุมอัจฉริยะ (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีแก้วและเซรามิก (วท.บ.) สาขาวิชาสารสนเทศดิจิทัลและบรรณารักษศาสตร์ (ศศ.บ.) สาขาวิชาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ (ศศ.บ.) สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล (บธ.บ.)

อัพเดทข้อมูล วันที่ 12 กรกฎาคม 2566